Pedal และความสำคัญของการใช้

โพสเมื่อ : 2024-04-12 00:00:00

คันเหยียบเปียโน (Pedal) เป็นส่วนประกอบอีกหนึ่งอย่างของเปียโนที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้กับเปียโนได้มากขึ้น รวมถึงสามารถควบคุมเสียงเปียโนได้อีกด้วย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

คันเหยียบซ้าย

มีไว้เพื่อลดความดังของเสียงเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว จะทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

คันเหยียบกลาง

หรือเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะคงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่น ๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) คันเหยีบบนี้มีความพิเศษคือ จะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้ไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นานๆ และยังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน)

คันเหยียบขวา

คันเหยียบนี้มักจะถูกใช้บ่อยๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบนี้ มีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น โดยเมื่อกดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่ไม่ต้องกดนิ้วค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนมากขึ้น